Sunday, December 30, 2012

ของขวัญ 10 ประการ


สวัสดีวันปีใหม่ครับ

ในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศเราได้ประสบกับเหตุการณ์วุ้นวายทางการเมืองและสังคมมากมาย โดยปัญหาเหล่านี้บ้างก็เป็นปัญหาใหม่ๆ บ้างก็เป็นเหตุต่อเนื่องจากปัญหาที่หมักหมมกันมาเป็นเวลานาน

ถึงแม้ปัญหาเหล่านี้บางคราจะดูหนักหนายิ่ง แต่ผมมีความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทย คนไทย จะสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านี้ไปได้หากเรามอบสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้กันและกันเป็นของขวัญตลอดปีหน้า

  1. ปกป้อง และยึดถือสถาบันพระมหากษัตรีย์ ไว้ในหัวใจ
  2. เปิดใจให้กว้าง โดยการ ละ ลด เลิก ความคิดว่าตนสังกัด ฝักใฝ่ หรือเป็น "พวก" ใครพวกหนึ่ง ไม่ว่า จะเป็น เสื้อแดง เสื้อเหลือง ปชป พท

Economics and Philosophy: Dealing with the Problems of Prostitution

 
The “world’s oldest profession” prostitution – has been around for millenniums (Head, 2012) –, but because of rapid urbanization, rapid human population growth, and new sexually transmitted diseases (STD) such as HIV Aids, the debate on prostitution is raging most fiercely than over. There’s a plethora of questions that are being asked: Is prostitution bad; what should we do about it; how do we protect the victims of the “sex industry”; is there such thing as voluntary prostitution? Of all the issues debated, the most notable and pertinent is the one regarding the legalization of the prostitution industry. Particularly, how and to what extent will the liberalization/ decriminalization/ legalization of the prostitution industry affect government incomes, industry standards, crime, and other social externalities?
Through philosophical and economical argument, this paper will attempt to illustrate the need for regulations of the prostitution market as well as the nature of the market that would best enforce these regulations. Furthermore, in the course of illustrating the aforementioned fact, the author will attempt to define prostitution, establish the voluntary nature of industry participants, explore the costs of prostitution on different agents, and evaluate different economic models of the current and proposed prostitution market.

Friday, November 30, 2012

Critical Review of Judge Posner's Parental Rights Market


Ethics and Economic Analysis of a Child Parental Rights Market     
    
                In general, the roots of any markets could be traced back to the desires for sellers to supply and buyers to demand. This results in some transaction of goods and services in exchange for an agreed compensation. Hence, following the economic definition given for a market, the conditions for a baby market as described by Judge Richard Posner appears to be quite viable.
                However, the Judge’s argument poses some major fallacies that stem from ethical oversight and the misuse of economic models to describe the liberalization of the child market. This paper discusses the proposed child market under a more appropriate monopolistic competition model and its implication on ethical issues surrounding the welfare of the child and society. Particularly, this paper will utilize economic concepts to justify ethical claims that the current adoptive system would be better or equally as good as the proposed child market when children welfare and society costs are taken into account.

Monday, October 22, 2012

เรื่องสั้นสะท้อนสังคม: ในหลวง ในหัวใจ

แสงอันเหลืองอร่ามของดวงสุรียา ที่สอดส่องลงมาผ่านรอยรั่ว รอยผุของหลังคาสังกะสี ย่อมเป็นนาฬิกาบอกเวลาอันดีของ ยายราษฎร์ ว่าถึงเวลาแล้วที่ยายจะต้องลุกจากเสื่อสีแดง-เหลือง ที่เธอสานมากับมือตัวเอง ไปช่วยกันทำนากับ ตา-ยาย คู่อื่นๆในหมู่บ้าน


แต่วันนี้ถึงแม้เสียงนักเรียนเคารพธงชาตินั้นจะดัง แว่วๆมาจากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว เสียงอันร่าเริงของ ยายราษฎร์ที่มักได้ยินมาแต่ไกลจากท้องทุ่งกลับเงียบสงัด มีเพียงเสียงพูดคุยค่อยๆที่ดังมาจากกระต๊อบของเธอ...

Thursday, October 18, 2012

กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 2 History of US Submarines Part 2

หลังจากที่เราได้เล่าถึงเรือดำน้ำในยุค ลองผิดลองถูกของสหรัฐฯ ไปแล้วใน ตอนที่ 1 วันนี้ผมจะเล่าถึงยุคต้นของสหรัฐในการนำเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพเรือ

ถึงแม้กองทัพเรือสหรัฐได้ประสบความล้มเหลวในการสร้าง และนำเรือดำน้ำมาประจำการอย่างมีประสิทธิผลมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่กองทัพเรือสหรัฐก็ไม่ได้ละความพยายาม เพราะได้เล็งเห็นว่าเรือดำน้ำนั้นเป็นยุทโธปกรณ์ซึ่งทรงศักยภาพมาก และเรือดำน้ำใหม่ๆ  จากทางฟากฝั่ง ยุโรป ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นภัยคุกคามอันร้ายกาจของทัพเรือสหรัฐฯ

ดังนั้นในปี ค.ศ. 1900 รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้มีการจัดประกวดแบบเรือดำน้ำ โดยเป็นการแข่งขันกันระหว่างแบบของ ชายชาวไอริช นามว่า ฮอลแลนด์ (Holland) และ นาย เลค (Lake) ซึ่งผลปรากฎว่าแบบของนาย ฮอลแลนด์นั้นได้รับชัยชนะ

USS Holland
เรือของนายฮอลแลนด์ นั้นที่จริงเป็นเรือที่นายฮอลแลนด์ได้จัดสร้างขึ้นมาทดลองใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1897 ก่อนการเสนอแบบให้กับกองทัพเรือ โดยเรื่อต้นแบบนี้มีนามว่า ฮอลแลนด์ 6 แต่ต่อมาเมื่อชนะการประมูลแบบ กองทัพเรือได้จัดซื้อเรือดังกล่าว ในราคา $150,000 และ เปลี่ยนชื่อมาเป็น ยูเอสเอส ฮอลแลนด์ รหัสเรือ เอสเอส-1 (USS Holland SS-1)

ลักษณะของเรือมีระวางขับน้ำ 64 ตัน และมีลักษณะคล้ายเรือสมัยใหม่หลายประการ เช่น การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในขณะดำน้ำ, เครื่องแก๊สโซลีน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นดีเซล ตามมาตรฐานความปลอดภัยฝรั่งเศส) ขณะอยู่ผิวน้ำ, ระบบท่อตอร์ปิโดที่สามารถบรรจุได้จากในเรือ, หอบังคับการ (Conning Tower) โดยมีความเร็วผิวน้ำ 8 น๊อต และใต้น้ำ 5 น๊อต

ด้วยความที่เรือดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กองทัพเรือจึงสั่งต่อเรือชั้น ฮอลแลนด์มากถึง 10 ลำ โดยประจำการอยู่ประมาณ 10 ปี ถึงแม้จะไม่มีประวัติการรบแต่เรือได้ถูกนำมาใช้ใน การทดลองใต้น้ำต่างๆเพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ของสหรัฐ หลังปลดประจำการเรือนั้นถูกขายเป็นเศษเหล็กในราคาเพียง $100


หลังจากที่สหรัฐได้นำเรือดำน้ำชั้นฮอลแลนด์เข้าประจำการ ความรู้จากเรือดังกล่าวก็ทำให้สหรัฐออกแบบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ๆได้สำเร็จเป็นจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรือดำน้ำได้ถูกวางให้เป็นกำลังหนุนอันสำคัญในการป้องกันเรือสินค้าและเรืออื่นๆ โดยมุ้งเน้นการต่อตีเรือผิวน้ำมากกว่าเรือดำน้ำด้วยกันเอง

USS Michigan (Ohio Class)
ต่อมายุคสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐฯเริ่มตระหนักถึงการใช้เรือดำน้ำเป็นกำลังหลักมากขึ้นในการต่อตีและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรือของตนเพื่อให้สามารถต่อสู้กับเรือ อู ของเยอรมัน และเรือดำน้ำของฝ่ายอักษะ ซึ่งมีความทันสมัยล้ำหน้าเรือของสหรัฐ จนในที่สุดสหรัฐสามารถออกแบบเรือดำน้ำและระบบตอร์ปิโดรุ่นใหม่ที่มีความแม่นยำ และเสถียรมากขึ้น ช่วยให้สหรัฐสามารถจมเรือที่เป็นทั้งยุทโธปกรณ์ และ ยุทธปัจจัย ของข้าศึกได้เป็นจำนวนมาก

ในยุคสงครามเย็นการพัฒนาเรือดำน้ำได้ให้ความสำคัญต่อการต่อตีเรือดำน้ำด้วยกันเองมากขึ้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความคงทนในทะเล และความเร็วใต้น้ำ ผลคือเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่ใช้ในการสอดแนม และ ป้องปรามข้าศึก

จากประวัติศาสตร์เรือดำน้ำสหรัฐ เราจะเห็นว่าเขาได้ประสบปัญหามากมาย ไม่น้อยไปกว่ากองทัพเรือของเรา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความพยายาม และความตั้งใจในการต่อยอดความรู้ของตนขึ้นไปเรื่อยๆจาก ความสำเร็จ และ ความล้มเหลวในแต่ละย่างก้าว จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเรือดำน้ำ ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นว่าวันหนึ่งกองทัพเรือของเราจะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนขึ้นมาได้เช่นกัน ไม่แพ้ชาติใดในโลก 

หากท่าไม่ได้อ่านตอน 1 เชิญอ่านได้ที่: กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 1 ครับ

บทความเกี่ยวข้อง/แหล่งข้อมูล



Tuesday, October 2, 2012

กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 1

เรือดำน้ำนั้นถือเป็นหนึ่งในความปรารถนาสูงสุดของ ทร. ไทยที่ต้องการนำยุทโธปกรณ์อันทรงศักยภาพดังกล่าวมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติ แต่หลังจากที่ ทร. ได้ปลดประจำการเรือดำน้ำชุดแรกและชุดเดียวของไทยไป โครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งต่อๆมาก็มักจะเป็นที่สนใจ จับตามอง และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในวงกว้างทั้งในมิติทาง การเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ จึงมีข้อมูลมากมายในสื่อไทยเกี่ยวกับเรือดำน้ำรุ่นต่างๆในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี ข้อมูลภาษาไทยเรื่องการวิวัฒนาการของเรือดำน้ำและประวัติในการจัดหาและเข้าประจำการเรือดำน้ำในชาติมหาอำนาจนั้นยังมีอยู่น้อย

ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอนำเอาประวัติของการจัดหา จัดซื้อเรือดำน้ำในสหรัฐมารวบรวมเล่าให้ฟังโดยสังเขป เพื่อให้สังคมไทยเห็นถึงความยากลำบากที่แม้แต่ชาติมหาอำนาจต้องเผชิญในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในเรื่องการยุทธใต้ท้องทะเล และเพื่อเป็นกำลังใจและบทเรียนให้กองทัพเรือจัดหาเรือดำน้ำต่อไปเพื่อประโยชน์ของชาติ
US Navy

Wednesday, September 26, 2012

ขั้นตอนการเลือก ประธานาธิบดี สหรัฐฯ

การเลือกตั้งประธานาธิบดี  (ปธน) ของสหรัฐอเมริกากำลังจะเข้าโค้งสุดท้าย...แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังงงกับขั้นตอนอันแสนยุ่งยากซับซ้อนอยู่มาก

ดังนั้นวันนี้ผมขอนำมาสรุปให้ทราบกันเป็นเกร็ดความรู้ดังต่อไปนี้ครับ

ความหมาย ของ คอคัส (Caucus)

คือหนึ่งในขั้นตอนการคัดสรรผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรค ที่บางรัฐเลือกใช้แทนระบบไพรมารี่ (Primaries) โดยมีพรรคการเมืองเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

บุคคลที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆในสหรัฐจะรวมตัวกัน ตามวัน เวลา และ จุดนัดหมาย ที่พรรคกำหนด (เช่นตามโรงเรียน วัด สนามกีฬา) เพื่อถกว่าพรรคควรส่งใครลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อหารือพูดคุยกันเสร็จแล้วกลุ่มก็จะเลือกตั้งเชิงลับ เพื่อส่งกลุ่มตัวแทนสมาชิกพรรคในเขต (County Delegate) เข้าไปลงคะแนนเลือกกลุ่มตัวแทนสมาชิกพรรคในรัฐ (State Delegate) ซึ่งตัวแทนของสมาชิกพรรคระดับรัฐมีหน้าที่เดินทางไปที่งาน เนชั่นแนล คอนเวนชั่น (National Convention) ของพรรค เพื่อลงคะแนนเลือกตัวแทนของพรรคระดับชาติในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

ตัวอย่างของ คอคัสที่มีความสำคัญคือที่รัฐไอโอว่า (Iowa) ซึ่งมีการจัดคอคัสขั้นต้นมากถึง ๑,๗๗๔ แห่งทั่วทั้งรัฐ


ความหมาย ของ ไพรมารี่ (Primaries)


คือหนึ่งในขั้นตอนการคัดสรรผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรค ที่บางรัฐเลือกใช้แทนระบบคอคัส (Caucus) โดยมีรัฐเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

ระบบนี้โดยเบื้องต้นจะมีการลงคะแนนเสียงเพื่อเลือก เดลิเกต (Delegates) กลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกพรรคในรัฐ ซึ่งจะเป็นผู้ไปเลือกตัวแทนของพรรคในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 

เนื่องจากเดลิเกตส่วนใหญ่จะผูกกับผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน.ในพรรค (เช่นเดลิเกต ก. จะต้อง เลือก นาย ข. ให้เป็นตัวแทนพรรค ชิงตำแหน่ง ปธน.) บัตรเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเขียนเพียงชื่อผู้ที่สมัครเป็นตัวแทนพรรค เพื่อชิงตำแหน่ง ปธน. (Candidates) เท่านั้น ไม่เขียนชื่อ เดลิเกต

ในบางรัฐ ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคในการชิงตำแหน่ง ปธน. ท่านใดได้คะแนนสูงสุดในรัฐ ก็จะได้เดลิเกตของตนทั้งหมดเป็นตัวแทนของรัฐทั้งรัฐ (winner takes all) แต่บางรัฐอาจใช้ระบบสัดส่วน โดยแบ่งจำนวนเดลิเกตของผู้สมัครตามคะแนนที่ผู้สมัครได้รับ (Proportionate) (เช่น หาก ผู้สมัคร ก. ได้เสียง 75% และ ผู้สมัคร ข. ได้ 25% ผู้สมัคร ก. ก็จะได้ เดลิเกต ๓ คน ขณะที่ ผู้สมัคร ข. ได้หนึ่งคน ในกรณีที่รัฐนั้นมีเดลิเกตทั้งหมดตามสัดส่วนประชากร ๔ คน)

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งรอบไพรมารี่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ และระบบไพรมารี่ที่เลือกใช้
  1. ระบบปิด (closed primaries) ผู้เป็นสมาชิกพรรคเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์
  2. ระบบกึ่งปิด (semi-closed primaries) ผู้เป็นสมาชิกพรรค + อิสระ(ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคใดเลย)เท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์
  3. ระบบเปิด (open primaries) ทุกคนมีสิทธิ์
โดยสิทธิ์ในการเลือกตั้งรอบไพรมารี่มีเพียงหนึ่งสิทธิ์ต่อคน ไม่ว่าจะเป็นไพรมารี่ระบบใดก็ตาม



Saturday, September 22, 2012

พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑

โดยสรุป:

พรบ ความมั่นคง แตกต่างจาก กฎหมายพิเศษอื่นๆ ตรงที่อำนาจส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ กอ.รมน แทน นายก (พรก ฉุกเฉิน) หรือ ทหาร (อัยการศึก) และเน้นการป้องปรามมากกว่าแก้ไขเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น

_________________________

ฉบับเต็ม จาก ศูนย์ทนายความทั่วไทย

Thursday, September 20, 2012

การรถไฟไทย...ทำไงดี














หากให้เดากันว่าการรถไฟของประเทศใด...

  • เริ่มก่อสร้างรถไฟสายแรกกว่า ๑๒๑ ปีที่แล้ว
  • มีหัวรถจักรดีเซลใช้งาน มากว่า ๘๒ ปี (ก่อนประเทศมหาอำนาจอย่างญี่ปุ่นกว่า ๑ ปี)
  • มีวิสัยทัศน์ก่อสร้างระบบรถไฟโดยที่ไม่ได้ถูกประเทศฝั่งตะวันตกบังคับ
  • มีกิจการรถไฟที่ก้าวหน้าเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย
น้อยคนนักคงจะนึกออก แต่หากให้ทายว่าการรถไฟของประเทศใด...
  • มีหนี้ผูกพันกว่า ๗๐,๐๐๐ ล้าน
  • มีหัวรถจักรที่ใช้ได้เพียง ๑๓๕ หัว จากทั้งหมดที่ประจำการ ๒๓๔ หัว
  • มีอุบัติเหตุกว่า ๕๐๐ ครั้งในรอบ ๖ ปี (แหล่งข่าว: TPBS)
  • มักล่าช้า จนเอามาเป็นจุดขาย (http://www.youtube.com/watch?v=ViaP1PbQTPY)
  • การให้บริการ และดูแลความสะอาด ต่ำกว่ามาตรฐาน
พูดแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าระหว่างอดีตอันเกรียงไกรจนถึงวันนี้...เกิดอะไรขึ้น และที่สำคัญคือ เราจะเดินกันอย่างไรต่อไป

Wednesday, September 19, 2012

การพบปะระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล และปมปัญหาภาคใต้


สรุปข่าว

เวลา:
บ่ายวันที่ 18 กันยายน

ผู้เกี่ยวข้อง:
นายก ยิ่งลักษณ์, หน.ฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์, ท่านรองเฉลิม, ฝ่ายความมั่นคงและปฏิบัติระดับผู้ใหญ่ (ทบ, ปปส และ สมช เป็นต้น)

ข้อเสนอ 9 ข้อ:
๑. "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามพระราชดำรัส
๒. การเมืองนำทหาร รัฐบาลทำงานต่อเนื่อง

ร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชน: แนวทางการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคที่สังคมเปลี่ยนไป


            เมื่อถึงเวลาเที่ยงวัน อากาศร้อนระอุจากแสงแดดที่เผาลงมาอย่างไม่ปราณีทำให้ผู้คนที่อยู่ตามเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯต่างพากันหลบอยู่ในร่มตามห้างสรรพสินค้าบ้าง ตามร้านอาหารบ้าง หรือตามสำนักงานออฟฟิศเปิดแอร์เย็นฉ่ำเป็นที่กำบังอันทันสมัยและสบายยิ่งนัก จนอาจมีคนบางพวกลืมนึกคิดไปว่าก่อนเราจะมีบ้านเรือน อาคารทันสมัยเช่นนี้ เราจำต้องพึ่งใครในยามที่เรารุ่มร้อน ทุกข์ใจ และใคร หรือสถาบันใดที่ได้อยู่เคียงคู่บ้านเมืองเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้เราเสมอมา

            คำตอบคงเป็นอื่นใดไปมิได้ นอกจาก “สถาบันพระมหากษัตริย์”

สื่อสาร ศรัทธา ศึกษา ยุติธรรม...สี่นโยบายรัฐควรเร่งทำ พาประชา “หันหน้าทางเดียวกัน”

เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนเข้าที่ บอกเวลา 8:00 น และ 18:00 น ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศจะได้ยินวิทยุ โทรทัศน์ และเสียงตามสายต่างๆ เปล่งเสียงเพลงชาติออกมาอย่างพร้อมเพรียง

“ประเทศไทย...อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี...”


แต่เมื่อเพลงชาติจบลง และเข้าสู่ชั่วโมงข่าว เรากลับเห็นคนไทยทะเลาะกันไม่จบไม่สิ้นสักที

Tuesday, September 18, 2012

ยินดีต้อนรับสู่ ครอบคลุมไทย


บล็อกที่จะรวบรวมสาระดีๆ เกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมือง สังคม เกร็ดความรู้ ข่าวสารต่างๆ ผมจะพยายามนำมาสรุป วิเคราะห์ หรือฝากเป็นข้อคิด

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมมีความเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าประชาธิปไตยและชาติของเรานั้น อันแท้จริงจะเดินหน้าไปได้ก็ต่อเมื่อประชาชน รอบรู้ เป็นธรรม และ ที่สำคัญคือ กล้าที่จะแสดงความเห็นของตนโดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก

เสียงของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบที่จะนำพาชาติเราไปได้ แต่ที่จริงแล้วเสียงของทุกๆบุคคลรวมกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

ดังนั้น ถึงแม้ผมจะไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ หรืออาจยังไม่มีคุณวุฒิมากมายเท่าท่านอื่นๆ แต่ในเมื่อผลประโยชน์ของชาตินั้น คือผลประโยชน์ของเราทุกคน ผมจึงขอเป็นเสียงหนึ่งที่จะร่วมกับเสียงอื่นๆช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศเราเดินหน้าไปได้

ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะเพลิดเพลินพอใจกับเนื้อหาในบล็อกของผม และขอให้ทุกท่านร่วมกันแสดงความเห็นอย่างเสรี เหมาะสม ตามกรอบของกฎหมายได้ในส่วน comment ในหน้าต่างๆครับ