Wednesday, October 30, 2013

จุดยืนเรื่อง กม. นิโทษกรรม: "ประเทศไทย" จะเป็นอย่างไร ก็เพราะ "คนไทย" ยอมให้เป็นอย่างนั้น!

Political Statement on Thailand's Amnesty Bill:
"ประเทศไทย" จะเป็นอย่างไร ก็เพราะ "คนไทย" ยอมให้เป็นอย่างนั้น!

ปกติผมจะพยายามหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนอกเหนือจากเรื่องนโยบายต่างๆ ที่ผมพยายามพูดอย่างเป็นกลางที่สุด...แต่วันนี้ผมคงต้องขอใช้ "อธิปไตย" ของผมในฐานะ "ประชาชน" เพื่อแสดงความเห็นสักนิดครับ

ถึงต้อนนี้ดูเหมือนว่าเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าพรรครัฐบาลนั้นจะเดินหน้า กม.นิรโทษกรรม เต็มกำลัง และคาดว่าจะผลักดันให้ผ่านวาระสามภายในวันที่ 2 พ.ย. นี้

สำหรับเพื่อนๆหลายคนที่ ไม่ค่อยสนใจการเมือง หรือไม่ได้ติดตามข่าวสาร และไม่รู้ว่ากฎหมายนี้คืออะไร ผมสรุปง่ายๆด้วยการยกคำพูดจากมาตรา สามของ กม. มาเลย ครับ:

"ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง"

หรือถ้าเอาแบบตรงๆคือ
1. เลิกหาความจริง โดยไม่ว่าท่านจะอยู่ฝ่ายใด ท่านจะไม่มีวันรู้ว่าแท้ที่จริง ใครต้องรับผิดชอบต่อปัญหาในบ้านเมือง
2. สร้างความชอบธรรม ให้ คนฆ่า คนเผา และคนโกง ไม่ว่าท่านจะเชื่อว่า ทหาร หรือ ชายชุดดำเป็นผู้ก่อเหตุ...ทุกคนไม่ต้องรับผิด
3. บอกว่าคนที่ชุมนุม และกระทำการละเมิดสิทธิ์ ผู้อื่น หรือก่ออาชญากรรมที่บางครั้งมีผลถึงชีวิตนั้นทำได้ แต่ต้องทำใน กทม นะ และต้องมีพรรคการเมืองหนุนหลังด้วย...ไอ้พวกภาคใต้นั่นน่ะ "โจรกระจอก"
4. หากใช้คำของคุณทักษิณ กม. ฉบับนี้คือการ "เซ็ต Zero" แต่ผมก็อยากจะถามว่า แล้วคนที่ตายหละครับ คนที่ออกมาเสียสละเพื่อต่อสู้อย่างบริสุธิ์ใจเพื่อสิ่งที่ตนเชื่อ ทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลือง ทหาร คนเหล่านี้ที่ต้องเสียชีวิต-บาดเจ็บ เราจะปลุกผีเขามา "เซ็ต Zero"กับเราด้วยหรือครับ มันยุติธรรมกับเขาหรือไม่

ที่ผ่านมามีคนบอกว่าเราต้องให้อภัย เราต้องลืม แต่หากเราตัดตอนขบวนการยุติธรรมอย่างนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าต้องให้อภัยใคร...ไม่เห็นมีใครสำนึก หรือ รับผิด มาขอโทษประชาชนสักคน แต่กลับใช้เหตุต่างๆมาเป็นฉนวนความขัดแย้งในสังคมต่อไป

ในขณะเดียวกันบ้างก็บอกว่าไหนหละ ที่ผ่านมาก็มีการนิรโทษกรรม มากมายไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย...ซึ่งผมต้องขอสวนกลับครับ ว่า "เป็น" เพราะผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งที่เมืองไทยตกอยู่ในวงจร รัฐประหาร-ฉีกรัฐธรรมนูญ-เผด็จการ-รัฐประหาร ก็เพราะผู้กระทำผิดหน้าเดิมๆ อย่าง จอมพล แปลก หรือ จอมพล ถนอม ไม่รู้สำนึกในสิ่งที่ตนทำ เฉกเฉ่นเดียวกับผู้เล่นทางการเมืองในปัจจุบันที่ดูจะไม่สำนึกผิดเอาเลย ส่วนการนิรโทษตามคำสั่ง 66/2523 ของ นายกเปรมนั้นแตกต่างครับเพราะ ผู้กระทำผิดสำนึกผิด แล้วออกมาจากป่าด้วยความสมัครใจ

จากเหตุที่กล่าวมาข้างตน ผมจึงขอแสดงจุดยืน ต่อต้าน ก.ม.นิรโทษกรรม (ไม่ใช่ต่อต้านรัฐบาล) อย่างชัดเจน ด้วยความห่วงใยและความรักในแผ่นดินเกิดของผม

ขอให้เพื่อนๆ ติดตามข่าวสารในเรื่องนี้ และพึงพิจารณาใช้สิทธิ์อันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยของท่านตามสมควร...

Sunday, July 7, 2013

ตำรวจไทยในอุดมคติ - ความฝันเรื่องการปฏิรูปตำรวจ

คำนำมาตรฐาน: เนื้อความของข้อเขียนนี้ ล้วนเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล  ซึ่งผมได้เขียนขึ้นในฐานะนักศึกษาที่ได้มีโอกาศไปศึกษาในต่างแดน และในฐานะบุคคลที่มีความสนใจทางด้านการบริหารบ้านเมืองของเรา การเขียนบทความนี้ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ แต่ผมเขียนขึ้นเพราะผมมีความเชื่อว่าในระบอบประชาธิปไตย อำนาจของประชาชนไม่ได้จบลงด้วยการเลือกตั้ง หรือการชุมนุม แต่ประชาชนมีหน้าที่ร่วมกัน ใช้ความรู้ ความคิด ช่วยกันนำพาประเทศให้เจริญขึ้น...เมื่อเราเลือกบุคคลมารับใช้ประชาชนแล้วเราต้องอย่านิ่งเฉย ปล่อยไปตามบุญตามกรรม แต่ต้องช่วยกันนำทางนักการเมืองให้บริหารประเทศอย่างเหมาะสม ดังนั้น ผมจึงกล้าแสดงความคิดเห็นที่ผมมีให้กับสาธรณาชน  หากผู้อ่านมีความเห็นและข้อแนะนำใดๆ ผมขอน้อมรับไว้ทุกประการครับ

ตำรวจไทยในอุดมคติ - ความฝันเรื่องการปฏิรูปตำรวจ


เมื่อผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ตกเป็นจำเลยสังคม ด้วยพฤติกรรม "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้"...ทั้งไถเงินประชาชน ทั้งซูฮกฝ่ายการเมือง ทั้งเลือกปฏิบัติ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่...ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่สังคมไทย จะมาช่วยกันคิดว่าเราควรทำอย่างไรให้สถาบันสีกากีกลับมาเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นองค์กรที่ส่งเสริมให้ตำรวจดีๆ ที่มีอยู่มากมาย ได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาความเป็นนิติรัฐของแผ่นดินไว้ชั่วกาล

Sunday, December 30, 2012

ของขวัญ 10 ประการ


สวัสดีวันปีใหม่ครับ

ในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศเราได้ประสบกับเหตุการณ์วุ้นวายทางการเมืองและสังคมมากมาย โดยปัญหาเหล่านี้บ้างก็เป็นปัญหาใหม่ๆ บ้างก็เป็นเหตุต่อเนื่องจากปัญหาที่หมักหมมกันมาเป็นเวลานาน

ถึงแม้ปัญหาเหล่านี้บางคราจะดูหนักหนายิ่ง แต่ผมมีความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทย คนไทย จะสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านี้ไปได้หากเรามอบสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้กันและกันเป็นของขวัญตลอดปีหน้า

  1. ปกป้อง และยึดถือสถาบันพระมหากษัตรีย์ ไว้ในหัวใจ
  2. เปิดใจให้กว้าง โดยการ ละ ลด เลิก ความคิดว่าตนสังกัด ฝักใฝ่ หรือเป็น "พวก" ใครพวกหนึ่ง ไม่ว่า จะเป็น เสื้อแดง เสื้อเหลือง ปชป พท

Economics and Philosophy: Dealing with the Problems of Prostitution

 
The “world’s oldest profession” prostitution – has been around for millenniums (Head, 2012) –, but because of rapid urbanization, rapid human population growth, and new sexually transmitted diseases (STD) such as HIV Aids, the debate on prostitution is raging most fiercely than over. There’s a plethora of questions that are being asked: Is prostitution bad; what should we do about it; how do we protect the victims of the “sex industry”; is there such thing as voluntary prostitution? Of all the issues debated, the most notable and pertinent is the one regarding the legalization of the prostitution industry. Particularly, how and to what extent will the liberalization/ decriminalization/ legalization of the prostitution industry affect government incomes, industry standards, crime, and other social externalities?
Through philosophical and economical argument, this paper will attempt to illustrate the need for regulations of the prostitution market as well as the nature of the market that would best enforce these regulations. Furthermore, in the course of illustrating the aforementioned fact, the author will attempt to define prostitution, establish the voluntary nature of industry participants, explore the costs of prostitution on different agents, and evaluate different economic models of the current and proposed prostitution market.

Friday, November 30, 2012

Critical Review of Judge Posner's Parental Rights Market


Ethics and Economic Analysis of a Child Parental Rights Market     
    
                In general, the roots of any markets could be traced back to the desires for sellers to supply and buyers to demand. This results in some transaction of goods and services in exchange for an agreed compensation. Hence, following the economic definition given for a market, the conditions for a baby market as described by Judge Richard Posner appears to be quite viable.
                However, the Judge’s argument poses some major fallacies that stem from ethical oversight and the misuse of economic models to describe the liberalization of the child market. This paper discusses the proposed child market under a more appropriate monopolistic competition model and its implication on ethical issues surrounding the welfare of the child and society. Particularly, this paper will utilize economic concepts to justify ethical claims that the current adoptive system would be better or equally as good as the proposed child market when children welfare and society costs are taken into account.

Monday, October 22, 2012

เรื่องสั้นสะท้อนสังคม: ในหลวง ในหัวใจ

แสงอันเหลืองอร่ามของดวงสุรียา ที่สอดส่องลงมาผ่านรอยรั่ว รอยผุของหลังคาสังกะสี ย่อมเป็นนาฬิกาบอกเวลาอันดีของ ยายราษฎร์ ว่าถึงเวลาแล้วที่ยายจะต้องลุกจากเสื่อสีแดง-เหลือง ที่เธอสานมากับมือตัวเอง ไปช่วยกันทำนากับ ตา-ยาย คู่อื่นๆในหมู่บ้าน


แต่วันนี้ถึงแม้เสียงนักเรียนเคารพธงชาตินั้นจะดัง แว่วๆมาจากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว เสียงอันร่าเริงของ ยายราษฎร์ที่มักได้ยินมาแต่ไกลจากท้องทุ่งกลับเงียบสงัด มีเพียงเสียงพูดคุยค่อยๆที่ดังมาจากกระต๊อบของเธอ...

Thursday, October 18, 2012

กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 2 History of US Submarines Part 2

หลังจากที่เราได้เล่าถึงเรือดำน้ำในยุค ลองผิดลองถูกของสหรัฐฯ ไปแล้วใน ตอนที่ 1 วันนี้ผมจะเล่าถึงยุคต้นของสหรัฐในการนำเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพเรือ

ถึงแม้กองทัพเรือสหรัฐได้ประสบความล้มเหลวในการสร้าง และนำเรือดำน้ำมาประจำการอย่างมีประสิทธิผลมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่กองทัพเรือสหรัฐก็ไม่ได้ละความพยายาม เพราะได้เล็งเห็นว่าเรือดำน้ำนั้นเป็นยุทโธปกรณ์ซึ่งทรงศักยภาพมาก และเรือดำน้ำใหม่ๆ  จากทางฟากฝั่ง ยุโรป ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นภัยคุกคามอันร้ายกาจของทัพเรือสหรัฐฯ

ดังนั้นในปี ค.ศ. 1900 รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้มีการจัดประกวดแบบเรือดำน้ำ โดยเป็นการแข่งขันกันระหว่างแบบของ ชายชาวไอริช นามว่า ฮอลแลนด์ (Holland) และ นาย เลค (Lake) ซึ่งผลปรากฎว่าแบบของนาย ฮอลแลนด์นั้นได้รับชัยชนะ

USS Holland
เรือของนายฮอลแลนด์ นั้นที่จริงเป็นเรือที่นายฮอลแลนด์ได้จัดสร้างขึ้นมาทดลองใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1897 ก่อนการเสนอแบบให้กับกองทัพเรือ โดยเรื่อต้นแบบนี้มีนามว่า ฮอลแลนด์ 6 แต่ต่อมาเมื่อชนะการประมูลแบบ กองทัพเรือได้จัดซื้อเรือดังกล่าว ในราคา $150,000 และ เปลี่ยนชื่อมาเป็น ยูเอสเอส ฮอลแลนด์ รหัสเรือ เอสเอส-1 (USS Holland SS-1)

ลักษณะของเรือมีระวางขับน้ำ 64 ตัน และมีลักษณะคล้ายเรือสมัยใหม่หลายประการ เช่น การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในขณะดำน้ำ, เครื่องแก๊สโซลีน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นดีเซล ตามมาตรฐานความปลอดภัยฝรั่งเศส) ขณะอยู่ผิวน้ำ, ระบบท่อตอร์ปิโดที่สามารถบรรจุได้จากในเรือ, หอบังคับการ (Conning Tower) โดยมีความเร็วผิวน้ำ 8 น๊อต และใต้น้ำ 5 น๊อต

ด้วยความที่เรือดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กองทัพเรือจึงสั่งต่อเรือชั้น ฮอลแลนด์มากถึง 10 ลำ โดยประจำการอยู่ประมาณ 10 ปี ถึงแม้จะไม่มีประวัติการรบแต่เรือได้ถูกนำมาใช้ใน การทดลองใต้น้ำต่างๆเพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ของสหรัฐ หลังปลดประจำการเรือนั้นถูกขายเป็นเศษเหล็กในราคาเพียง $100


หลังจากที่สหรัฐได้นำเรือดำน้ำชั้นฮอลแลนด์เข้าประจำการ ความรู้จากเรือดังกล่าวก็ทำให้สหรัฐออกแบบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ๆได้สำเร็จเป็นจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรือดำน้ำได้ถูกวางให้เป็นกำลังหนุนอันสำคัญในการป้องกันเรือสินค้าและเรืออื่นๆ โดยมุ้งเน้นการต่อตีเรือผิวน้ำมากกว่าเรือดำน้ำด้วยกันเอง

USS Michigan (Ohio Class)
ต่อมายุคสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐฯเริ่มตระหนักถึงการใช้เรือดำน้ำเป็นกำลังหลักมากขึ้นในการต่อตีและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรือของตนเพื่อให้สามารถต่อสู้กับเรือ อู ของเยอรมัน และเรือดำน้ำของฝ่ายอักษะ ซึ่งมีความทันสมัยล้ำหน้าเรือของสหรัฐ จนในที่สุดสหรัฐสามารถออกแบบเรือดำน้ำและระบบตอร์ปิโดรุ่นใหม่ที่มีความแม่นยำ และเสถียรมากขึ้น ช่วยให้สหรัฐสามารถจมเรือที่เป็นทั้งยุทโธปกรณ์ และ ยุทธปัจจัย ของข้าศึกได้เป็นจำนวนมาก

ในยุคสงครามเย็นการพัฒนาเรือดำน้ำได้ให้ความสำคัญต่อการต่อตีเรือดำน้ำด้วยกันเองมากขึ้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความคงทนในทะเล และความเร็วใต้น้ำ ผลคือเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่ใช้ในการสอดแนม และ ป้องปรามข้าศึก

จากประวัติศาสตร์เรือดำน้ำสหรัฐ เราจะเห็นว่าเขาได้ประสบปัญหามากมาย ไม่น้อยไปกว่ากองทัพเรือของเรา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความพยายาม และความตั้งใจในการต่อยอดความรู้ของตนขึ้นไปเรื่อยๆจาก ความสำเร็จ และ ความล้มเหลวในแต่ละย่างก้าว จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเรือดำน้ำ ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นว่าวันหนึ่งกองทัพเรือของเราจะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนขึ้นมาได้เช่นกัน ไม่แพ้ชาติใดในโลก 

หากท่าไม่ได้อ่านตอน 1 เชิญอ่านได้ที่: กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 1 ครับ

บทความเกี่ยวข้อง/แหล่งข้อมูล