Wednesday, September 26, 2012

ขั้นตอนการเลือก ประธานาธิบดี สหรัฐฯ

การเลือกตั้งประธานาธิบดี  (ปธน) ของสหรัฐอเมริกากำลังจะเข้าโค้งสุดท้าย...แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังงงกับขั้นตอนอันแสนยุ่งยากซับซ้อนอยู่มาก

ดังนั้นวันนี้ผมขอนำมาสรุปให้ทราบกันเป็นเกร็ดความรู้ดังต่อไปนี้ครับ

ความหมาย ของ คอคัส (Caucus)

คือหนึ่งในขั้นตอนการคัดสรรผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรค ที่บางรัฐเลือกใช้แทนระบบไพรมารี่ (Primaries) โดยมีพรรคการเมืองเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

บุคคลที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆในสหรัฐจะรวมตัวกัน ตามวัน เวลา และ จุดนัดหมาย ที่พรรคกำหนด (เช่นตามโรงเรียน วัด สนามกีฬา) เพื่อถกว่าพรรคควรส่งใครลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อหารือพูดคุยกันเสร็จแล้วกลุ่มก็จะเลือกตั้งเชิงลับ เพื่อส่งกลุ่มตัวแทนสมาชิกพรรคในเขต (County Delegate) เข้าไปลงคะแนนเลือกกลุ่มตัวแทนสมาชิกพรรคในรัฐ (State Delegate) ซึ่งตัวแทนของสมาชิกพรรคระดับรัฐมีหน้าที่เดินทางไปที่งาน เนชั่นแนล คอนเวนชั่น (National Convention) ของพรรค เพื่อลงคะแนนเลือกตัวแทนของพรรคระดับชาติในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

ตัวอย่างของ คอคัสที่มีความสำคัญคือที่รัฐไอโอว่า (Iowa) ซึ่งมีการจัดคอคัสขั้นต้นมากถึง ๑,๗๗๔ แห่งทั่วทั้งรัฐ


ความหมาย ของ ไพรมารี่ (Primaries)


คือหนึ่งในขั้นตอนการคัดสรรผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของพรรค ที่บางรัฐเลือกใช้แทนระบบคอคัส (Caucus) โดยมีรัฐเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

ระบบนี้โดยเบื้องต้นจะมีการลงคะแนนเสียงเพื่อเลือก เดลิเกต (Delegates) กลุ่มหนึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกพรรคในรัฐ ซึ่งจะเป็นผู้ไปเลือกตัวแทนของพรรคในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 

เนื่องจากเดลิเกตส่วนใหญ่จะผูกกับผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน.ในพรรค (เช่นเดลิเกต ก. จะต้อง เลือก นาย ข. ให้เป็นตัวแทนพรรค ชิงตำแหน่ง ปธน.) บัตรเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเขียนเพียงชื่อผู้ที่สมัครเป็นตัวแทนพรรค เพื่อชิงตำแหน่ง ปธน. (Candidates) เท่านั้น ไม่เขียนชื่อ เดลิเกต

ในบางรัฐ ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคในการชิงตำแหน่ง ปธน. ท่านใดได้คะแนนสูงสุดในรัฐ ก็จะได้เดลิเกตของตนทั้งหมดเป็นตัวแทนของรัฐทั้งรัฐ (winner takes all) แต่บางรัฐอาจใช้ระบบสัดส่วน โดยแบ่งจำนวนเดลิเกตของผู้สมัครตามคะแนนที่ผู้สมัครได้รับ (Proportionate) (เช่น หาก ผู้สมัคร ก. ได้เสียง 75% และ ผู้สมัคร ข. ได้ 25% ผู้สมัคร ก. ก็จะได้ เดลิเกต ๓ คน ขณะที่ ผู้สมัคร ข. ได้หนึ่งคน ในกรณีที่รัฐนั้นมีเดลิเกตทั้งหมดตามสัดส่วนประชากร ๔ คน)

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งรอบไพรมารี่ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ และระบบไพรมารี่ที่เลือกใช้
  1. ระบบปิด (closed primaries) ผู้เป็นสมาชิกพรรคเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์
  2. ระบบกึ่งปิด (semi-closed primaries) ผู้เป็นสมาชิกพรรค + อิสระ(ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคใดเลย)เท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์
  3. ระบบเปิด (open primaries) ทุกคนมีสิทธิ์
โดยสิทธิ์ในการเลือกตั้งรอบไพรมารี่มีเพียงหนึ่งสิทธิ์ต่อคน ไม่ว่าจะเป็นไพรมารี่ระบบใดก็ตาม



Saturday, September 22, 2012

พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑

โดยสรุป:

พรบ ความมั่นคง แตกต่างจาก กฎหมายพิเศษอื่นๆ ตรงที่อำนาจส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ กอ.รมน แทน นายก (พรก ฉุกเฉิน) หรือ ทหาร (อัยการศึก) และเน้นการป้องปรามมากกว่าแก้ไขเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น

_________________________

ฉบับเต็ม จาก ศูนย์ทนายความทั่วไทย

Thursday, September 20, 2012

การรถไฟไทย...ทำไงดี














หากให้เดากันว่าการรถไฟของประเทศใด...

  • เริ่มก่อสร้างรถไฟสายแรกกว่า ๑๒๑ ปีที่แล้ว
  • มีหัวรถจักรดีเซลใช้งาน มากว่า ๘๒ ปี (ก่อนประเทศมหาอำนาจอย่างญี่ปุ่นกว่า ๑ ปี)
  • มีวิสัยทัศน์ก่อสร้างระบบรถไฟโดยที่ไม่ได้ถูกประเทศฝั่งตะวันตกบังคับ
  • มีกิจการรถไฟที่ก้าวหน้าเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย
น้อยคนนักคงจะนึกออก แต่หากให้ทายว่าการรถไฟของประเทศใด...
  • มีหนี้ผูกพันกว่า ๗๐,๐๐๐ ล้าน
  • มีหัวรถจักรที่ใช้ได้เพียง ๑๓๕ หัว จากทั้งหมดที่ประจำการ ๒๓๔ หัว
  • มีอุบัติเหตุกว่า ๕๐๐ ครั้งในรอบ ๖ ปี (แหล่งข่าว: TPBS)
  • มักล่าช้า จนเอามาเป็นจุดขาย (http://www.youtube.com/watch?v=ViaP1PbQTPY)
  • การให้บริการ และดูแลความสะอาด ต่ำกว่ามาตรฐาน
พูดแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าระหว่างอดีตอันเกรียงไกรจนถึงวันนี้...เกิดอะไรขึ้น และที่สำคัญคือ เราจะเดินกันอย่างไรต่อไป

Wednesday, September 19, 2012

การพบปะระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล และปมปัญหาภาคใต้


สรุปข่าว

เวลา:
บ่ายวันที่ 18 กันยายน

ผู้เกี่ยวข้อง:
นายก ยิ่งลักษณ์, หน.ฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์, ท่านรองเฉลิม, ฝ่ายความมั่นคงและปฏิบัติระดับผู้ใหญ่ (ทบ, ปปส และ สมช เป็นต้น)

ข้อเสนอ 9 ข้อ:
๑. "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามพระราชดำรัส
๒. การเมืองนำทหาร รัฐบาลทำงานต่อเนื่อง

ร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชน: แนวทางการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคที่สังคมเปลี่ยนไป


            เมื่อถึงเวลาเที่ยงวัน อากาศร้อนระอุจากแสงแดดที่เผาลงมาอย่างไม่ปราณีทำให้ผู้คนที่อยู่ตามเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯต่างพากันหลบอยู่ในร่มตามห้างสรรพสินค้าบ้าง ตามร้านอาหารบ้าง หรือตามสำนักงานออฟฟิศเปิดแอร์เย็นฉ่ำเป็นที่กำบังอันทันสมัยและสบายยิ่งนัก จนอาจมีคนบางพวกลืมนึกคิดไปว่าก่อนเราจะมีบ้านเรือน อาคารทันสมัยเช่นนี้ เราจำต้องพึ่งใครในยามที่เรารุ่มร้อน ทุกข์ใจ และใคร หรือสถาบันใดที่ได้อยู่เคียงคู่บ้านเมืองเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้เราเสมอมา

            คำตอบคงเป็นอื่นใดไปมิได้ นอกจาก “สถาบันพระมหากษัตริย์”

สื่อสาร ศรัทธา ศึกษา ยุติธรรม...สี่นโยบายรัฐควรเร่งทำ พาประชา “หันหน้าทางเดียวกัน”

เมื่อเข็มนาฬิกาเคลื่อนเข้าที่ บอกเวลา 8:00 น และ 18:00 น ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศจะได้ยินวิทยุ โทรทัศน์ และเสียงตามสายต่างๆ เปล่งเสียงเพลงชาติออกมาอย่างพร้อมเพรียง

“ประเทศไทย...อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี...”


แต่เมื่อเพลงชาติจบลง และเข้าสู่ชั่วโมงข่าว เรากลับเห็นคนไทยทะเลาะกันไม่จบไม่สิ้นสักที

Tuesday, September 18, 2012

ยินดีต้อนรับสู่ ครอบคลุมไทย


บล็อกที่จะรวบรวมสาระดีๆ เกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมือง สังคม เกร็ดความรู้ ข่าวสารต่างๆ ผมจะพยายามนำมาสรุป วิเคราะห์ หรือฝากเป็นข้อคิด

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมมีความเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าประชาธิปไตยและชาติของเรานั้น อันแท้จริงจะเดินหน้าไปได้ก็ต่อเมื่อประชาชน รอบรู้ เป็นธรรม และ ที่สำคัญคือ กล้าที่จะแสดงความเห็นของตนโดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก

เสียงของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบที่จะนำพาชาติเราไปได้ แต่ที่จริงแล้วเสียงของทุกๆบุคคลรวมกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

ดังนั้น ถึงแม้ผมจะไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ หรืออาจยังไม่มีคุณวุฒิมากมายเท่าท่านอื่นๆ แต่ในเมื่อผลประโยชน์ของชาตินั้น คือผลประโยชน์ของเราทุกคน ผมจึงขอเป็นเสียงหนึ่งที่จะร่วมกับเสียงอื่นๆช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศเราเดินหน้าไปได้

ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะเพลิดเพลินพอใจกับเนื้อหาในบล็อกของผม และขอให้ทุกท่านร่วมกันแสดงความเห็นอย่างเสรี เหมาะสม ตามกรอบของกฎหมายได้ในส่วน comment ในหน้าต่างๆครับ