Wednesday, September 19, 2012

การพบปะระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล และปมปัญหาภาคใต้


สรุปข่าว

เวลา:
บ่ายวันที่ 18 กันยายน

ผู้เกี่ยวข้อง:
นายก ยิ่งลักษณ์, หน.ฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์, ท่านรองเฉลิม, ฝ่ายความมั่นคงและปฏิบัติระดับผู้ใหญ่ (ทบ, ปปส และ สมช เป็นต้น)

ข้อเสนอ 9 ข้อ:
๑. "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามพระราชดำรัส
๒. การเมืองนำทหาร รัฐบาลทำงานต่อเนื่อง

๓. ใช้ พรบ.ความมั่นคงแทน กฎหมายพิเศษ (เน้นมาตรา 21)
๔. ใช้กองกำลังท้องถิ่นให้มากที่สุด แทนกำลังต่างถิ่น
๕. ส่งเสริมคนในท้องที่เขารับราชการ
๖. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ควรดูแลทุกอย่างยกเว้นความมั่นคง (กอ.รมน. ดูแลแทน)
๗. เงินเยียวยาเท่าเทียม การเมือง-ความรุนแรงใน กทม
๘. ไม่เอาเขตปกครองพิเศษ
๙. นายกเป็นผู้นำ ขับเคลื่อน ให้ ศอ.บต และ กอ.รมน ทำงาน

ผลการประชุม:
นายก บอก ดี
อภิสิทธิ์ บอก ดี แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล + ตรวจสอบการทำงานต่อ
เฉลิมบอกดี มีรอบสอง
สุรพงษ์ (รมว ต่างประเทศ) บอก ดี ไม่ค่อยเกี่ยวกับ กต.มาก
ประยุทธ์ (ผบ.ทบ) บอกเยี่ยม

ประเด็นกระตุกต่อมคิด
(ประเด็นต่างๆที่ผู้เขียนคิดขึ้นเพื่อให้ถกกัน มิใช่การตำหนิ หรือข้อคิดที่ถูกต้องเสมอไป แต่เป็นเพียงประเด็นรายละเอียดที่ผู้เขียนคงจะพูดถึงหากได้เข้าร่วมประชุมด้วย บางเรืองเราไม่อาจรู้ได้ บางอันไม่ควรรู้เพราะเป็นควรเป็นความลับราชการ)

ไล่ตามข้อเสนอฝ่ายค้าน:

๑. "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามพระราชดำรัส
๒. การเมืองนำทหาร รัฐบาลทำงานต่อเนื่อง

  • เราควรมีกลไกใดหรือไม่ที่จะพิทักษ์ ไม่ให้ฝ่ายข้าราชการประจำ ถูกพิษการเมืองเล่นงานเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีเอกภาพ?
    • เพิ่มอำนาจข้าราชการประจำ สายพลเรือน
    • สร้างกลไกการถ่วงดุลระหว่าง ทหาร - พลเรือน - การเมือง
      • ทำให้กฎระเบียบว่าด้วยการแบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และมีการลงโทษอย่างเป็นธรรมหากมีการล้ำเส้น
      • นายกควรมีบทบาทในการเป็นผู้นำ แบ่งสายงานให้ชัดเจน
    • กำหนดข้อผูกมัดทางนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ให้มีการผลิกนโยบายสำคัญๆได้ 
      • นโยบายตามแผน ๕ - ๘ ปีอาจไม่สามารถเปลี่ยนได้ 
        • สร้างกลไกตามกฎหมายให้ผู้ถูกกระทบโดยนโยบาย (ชาวบ้าน) สามารถคัดค้าน ยกเลิกข้อผูกมัดทาง นโยบายได้
        • อาจต้องใช้เสียงรัฐสภา (สส + สว) เกิน 3/5 ถึงจะ เปลี่ยนแปลง ยกเลิก นโยบายได้

๓. ใช้ พรบ.ความมั่นคงแทน กฎหมายพิเศษ (เน้นมาตรา 21)

  • พรบ ความมั่นคง แตกต่างจาก กฎหมายพิเศษอื่นๆ ตรงที่อำนาจส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ กอ.รมน แทน นายก (พรก ฉุกเฉิน) หรือ ทหาร (อัยการศึก) และเน้นการป้องปรามมากกว่าแก้ไขเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น แต่ประเด็นคือในทางปฏิบัติ กำลังที่ใช้ก็หนีไม่พ้นทหารอีกเช่นเคย เราจะมีมาตรการเพิ่มเติมอย่างไรในการรักษาระเบียบผู้ปฏิบัติระดับล่างให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย?
    • จัดอบรม ฝึก และ ทำคู่มือให้ผู้ปฏิบัติอย่างทั่วถึง
    • ผู้บัญชาการทุกระดับต้องทำงานกันอย่างใกล้ชิด อย่าให้ขาดช่วงบังคับบัญชา

๔. ใช้กองกำลังท้องถิ่นให้มากที่สุด แทนกำลังต่างถิ่น

  • กำลังมีมากพอหรือไม่?
    • หากไม่พอควรจัดกำลังอย่างไร?
      • ทหารท้องถิ่นอยู่หน่วยที่พบปะประชาชน 
      • ทหารนอกถิ่นเป็นกำลังเสริม หมุนเวียน

๕. ส่งเสริมคนในท้องที่เขารับราชการ

  • ทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้มีไส้ศึก?
    • ประเทศไทยมีระบบการตรวจสอบประวัติบุคคลก่อนเข้ารับราชการที่ดีพอหรือไม่?
    • ตำแหน่งงานใดบ้างที่เราควรให้ท้องถิ่นทำได้?
      • ตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับความมั่นคง
      • ตำแหน่งที่เปิดโอกาสให้เข้าก้าวหน้า มีศักดิ์ศรีได้
    • เพื่อลดปัญหา เราอาจต้องประสานกับสถานศึกษาเพื่อฝึกนักเรียน เยาวชนในท้องที่เพื่อที่จะมารับตำแหน่งราชการในท้องที่โดยตรง และลดการโยกย้ายข้าราชการในตำแหน่งที่ประจำการโดยคนท้องถิ่นในภาคใต้ เข้า-ออก 
      • เพื่อบ่มเพาะ อบรมเยาวชนไม่ให้ไปเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบ (ไม้อ่อนดัดง่าย ดีกว่ารับผู้ใหญ่ ที่อาจเป็นหนอนบ่อนใส้)
      • เพื่อสร้างความเชื่อใจระหว่าง ประชาชน และ ส่วนราชการ
  • เราต้องอย่าลืมคำนึงถึงความเหมาสมด้านคุณสมบัติ ความสามารถ และ ความเหมาะสมของบุคลากรเป็นหลักด้วย อย่าหลงกับข้อจำกัด ที่จะต้องจ่างท้องถิ่นอย่างเดียว

๖. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ควรดูแลทุกอย่างยกเว้นความมั่นคง (กอ.รมน. ดูแลแทน)
๗. เงินเยียวยาเท่าเทียม การเมือง-ความรุนแรงใน กทม

  • ปัญหาภาคใต้แตกต่างจากเหตุการเมืองใน กทม ตรงที่ฝ่ายตรงข้ามนั้นเป็นปฏิปักษ์ รัฐไทย ไม่ใช่ กับกลุ่มการเมืองเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นนอกจากการเยียวยา รัฐมีมาตรการอย่างไรไม่ให้ ญาติ พี่ น้อง ผู้เสียหาย เสียชีวิตถูกชักชวนไปเข้าร่วมขบวนการ?
    • รัฐควรมีการควบคุมระบบการศึกษาไห้รัดกุม ไม่ปล่อยเป็นช่องทางการปลุกระดม
    • รัฐ ต้องดำเนินโครงการ บรรเทาทุกต่างๆ ให้ ชนะใจ ประชาชน
    • การว่าความต้อง คุ้มครองพยาน เพื่อให้คดีต่างๆ ชัดเจน มีหลักฐานแน่น คำตัดสินสามารถทำได้โดยไว
      • อาจต้องมีขั้นตอนเร่งรัดคดีภาคใต้ โดยรักษาความโปรงใสไว้
        • บรรจุอัยการ ตุลาการเพิ่ม
        • จ้างเสมียน เพิ่ม
        • นำเทคโนโลยี และจัดระบบ fast track เอกสาร

๘. ไม่เอาเขตปกครองพิเศษ

  • เราควรหรือไม่ที่จะให้ประชาชนภาคใต้ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศมีอำนาจในการปกครองตนเองมากขึ้น?
    • เพื่อเป็นการประนีประนอม แทนที่เราจะอนุญาตให้ประชาชนเลือกผู้ว่าเองตามข้อเสนอท่านเฉลิม เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะแบ่งอำนาจต่างๆของกระทรวงส่วนกลางออก โดยการจัดตั้ง คณะกรรมการพิเศษ ต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลของ ศอ.บต ที่ประชาชนท้องที่สามารถเลือกกรรมการเข้ามาได้ บางส่วน (อาจ เป็น 2/3 ของจำนวนคณะกรรมการ)  เช่น
      • จัดตั้งคณะกรรมการ การศึกษาพิเศษ เพื่อ เขียนหลักสูตรพิเศษ(บางวิชา) และจัดตารางเรียนให้สอดคล้องกับขนบทำเนียมท้องที่ คล้ายกับการเลือก regents ในสหรัฐฯ
      • จัดตั้งคณะกรรมการ ว่าด้วยกฎหมายท้องถิ่นพิเศษ ที่มีอำนาจออกกฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม (แต่ห้ามขัด) กฎหมายต่างๆที่รัฐบาลกลางของไทยออก และมีอำนาจจัดทำข้อเสนอสู่ประธานรัฐสภาให้ยิบกฎหมายที่มีผลบังคับใช้มามากกว่า ๕ ปี และอาจขัดกับวิถีชีวิตท้องถิ่นภาคใต้ ขึ้นมาให้ สส+สว พิจารณาอีกครั้ง
      • จัดตั้งคณะกรรมการ วัฒนธรรม และ ศาสนา เพื่อ พิทักษ์สิทธิเสรีภาพทางศาสนาในพื้นที่ ควบคุม ดูแลมาตรฐาน ของ ศาสนสถาน และ เผยแพร่คำสอนต่างๆที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบ

๙. นายกเป็นผู้นำ ขับเคลื่อน ให้ ศอ.บต และ กอ.รมน ทำงาน

  • สมควรหรือไม่ที่จะจัดตั้ง ครม ภาคใต้เพื่อดูแลปัญหาอย่างเป็นเอกภาพ?
  • ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.จชต.) ที่จริงแล้ว ดีหรือเสีย?
  • ทำอย่างไรให้นายกและฝ่ายบริหารมีข้อผูกมัดที่จะต้อง ดูแลปัญหานี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง?
ข้อคิดอื่นๆ:
  • เรามีวิธีใดหรือไม่ ที่จะสร้างกระแสให้ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่หันมาสนใจเรื่อง อื่นๆ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น?
    • การจัดมหกรรมกีฬาท้องถิ่นขนาดใหญ่
    • การทำ เมกะโปรเจค (เช่นขุดคลองคอดกระ) เพื่อสร้างงาน
    • การส่งเสริมการทำอาชีพ เสริม นอกเวลางานปกติ
  • เราควรทำอย่างไรกับปัญหา สอง สัญชาติ?
  • ทำอย่างไรไม่ให้ปัญหา "ฆ่ารายวัน" กลายเป็นเรื่องธรรมดาของคนนอกพื้นที่ ให้คนไทยด้วยกันหันมาใส่ใจปัญหานี้?
  • ทำอย่างไรไม่ให้การพบปะทำงานร่วมกันของฝ่ายการเมืองสองขัว เป็นเพียงการสร้างภาพ สามารถหาจุดยื่นร่วม และนำไปปฏิบัติ?
    • เป็นไปได้หรือไม่ทางกฎหมายที่จะให้อำนาจฝ่ายค้านมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาบางอย่าง


No comments:

Post a Comment