แต่วันนี้ถึงแม้เสียงนักเรียนเคารพธงชาตินั้นจะดัง
แว่วๆมาจากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว เสียงอันร่าเริงของ
ยายราษฎร์ที่มักได้ยินมาแต่ไกลจากท้องทุ่งกลับเงียบสงัด
มีเพียงเสียงพูดคุยค่อยๆที่ดังมาจากกระต๊อบของเธอ...
บล็อกที่จะรวบรวมสาระดีๆ เกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมือง สังคม เกร็ดความรู้ ข่าวสารต่างๆ ผมจะพยายามนำมาสรุป วิเคราะห์ หรือฝากเป็นข้อคิด
Monday, October 22, 2012
เรื่องสั้นสะท้อนสังคม: ในหลวง ในหัวใจ
แสงอันเหลืองอร่ามของดวงสุรียา
ที่สอดส่องลงมาผ่านรอยรั่ว รอยผุของหลังคาสังกะสี ย่อมเป็นนาฬิกาบอกเวลาอันดีของ
ยายราษฎร์ ว่าถึงเวลาแล้วที่ยายจะต้องลุกจากเสื่อสีแดง-เหลือง
ที่เธอสานมากับมือตัวเอง ไปช่วยกันทำนากับ ตา-ยาย คู่อื่นๆในหมู่บ้าน
Thursday, October 18, 2012
กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 2 History of US Submarines Part 2
หลังจากที่เราได้เล่าถึงเรือดำน้ำในยุค ลองผิดลองถูกของสหรัฐฯ ไปแล้วใน ตอนที่ 1 วันนี้ผมจะเล่าถึงยุคต้นของสหรัฐในการนำเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพเรือ
ถึงแม้กองทัพเรือสหรัฐได้ประสบความล้มเหลวในการสร้าง และนำเรือดำน้ำมาประจำการอย่างมีประสิทธิผลมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่กองทัพเรือสหรัฐก็ไม่ได้ละความพยายาม เพราะได้เล็งเห็นว่าเรือดำน้ำนั้นเป็นยุทโธปกรณ์ซึ่งทรงศักยภาพมาก และเรือดำน้ำใหม่ๆ จากทางฟากฝั่ง ยุโรป ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นภัยคุกคามอันร้ายกาจของทัพเรือสหรัฐฯ
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1900 รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้มีการจัดประกวดแบบเรือดำน้ำ โดยเป็นการแข่งขันกันระหว่างแบบของ ชายชาวไอริช นามว่า ฮอลแลนด์ (Holland) และ นาย เลค (Lake) ซึ่งผลปรากฎว่าแบบของนาย ฮอลแลนด์นั้นได้รับชัยชนะ
เรือของนายฮอลแลนด์ นั้นที่จริงเป็นเรือที่นายฮอลแลนด์ได้จัดสร้างขึ้นมาทดลองใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1897 ก่อนการเสนอแบบให้กับกองทัพเรือ โดยเรื่อต้นแบบนี้มีนามว่า ฮอลแลนด์ 6 แต่ต่อมาเมื่อชนะการประมูลแบบ กองทัพเรือได้จัดซื้อเรือดังกล่าว ในราคา $150,000 และ เปลี่ยนชื่อมาเป็น ยูเอสเอส ฮอลแลนด์ รหัสเรือ เอสเอส-1 (USS Holland SS-1)
ลักษณะของเรือมีระวางขับน้ำ 64 ตัน และมีลักษณะคล้ายเรือสมัยใหม่หลายประการ เช่น การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในขณะดำน้ำ, เครื่องแก๊สโซลีน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นดีเซล ตามมาตรฐานความปลอดภัยฝรั่งเศส) ขณะอยู่ผิวน้ำ, ระบบท่อตอร์ปิโดที่สามารถบรรจุได้จากในเรือ, หอบังคับการ (Conning Tower) โดยมีความเร็วผิวน้ำ 8 น๊อต และใต้น้ำ 5 น๊อต
ด้วยความที่เรือดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กองทัพเรือจึงสั่งต่อเรือชั้น ฮอลแลนด์มากถึง 10 ลำ โดยประจำการอยู่ประมาณ 10 ปี ถึงแม้จะไม่มีประวัติการรบแต่เรือได้ถูกนำมาใช้ใน การทดลองใต้น้ำต่างๆเพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ของสหรัฐ หลังปลดประจำการเรือนั้นถูกขายเป็นเศษเหล็กในราคาเพียง $100
หลังจากที่สหรัฐได้นำเรือดำน้ำชั้นฮอลแลนด์เข้าประจำการ ความรู้จากเรือดังกล่าวก็ทำให้สหรัฐออกแบบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ๆได้สำเร็จเป็นจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรือดำน้ำได้ถูกวางให้เป็นกำลังหนุนอันสำคัญในการป้องกันเรือสินค้าและเรืออื่นๆ โดยมุ้งเน้นการต่อตีเรือผิวน้ำมากกว่าเรือดำน้ำด้วยกันเอง
ต่อมายุคสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐฯเริ่มตระหนักถึงการใช้เรือดำน้ำเป็นกำลังหลักมากขึ้นในการต่อตีและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรือของตนเพื่อให้สามารถต่อสู้กับเรือ อู ของเยอรมัน และเรือดำน้ำของฝ่ายอักษะ ซึ่งมีความทันสมัยล้ำหน้าเรือของสหรัฐ จนในที่สุดสหรัฐสามารถออกแบบเรือดำน้ำและระบบตอร์ปิโดรุ่นใหม่ที่มีความแม่นยำ และเสถียรมากขึ้น ช่วยให้สหรัฐสามารถจมเรือที่เป็นทั้งยุทโธปกรณ์ และ ยุทธปัจจัย ของข้าศึกได้เป็นจำนวนมาก
ในยุคสงครามเย็นการพัฒนาเรือดำน้ำได้ให้ความสำคัญต่อการต่อตีเรือดำน้ำด้วยกันเองมากขึ้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความคงทนในทะเล และความเร็วใต้น้ำ ผลคือเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่ใช้ในการสอดแนม และ ป้องปรามข้าศึก
จากประวัติศาสตร์เรือดำน้ำสหรัฐ เราจะเห็นว่าเขาได้ประสบปัญหามากมาย ไม่น้อยไปกว่ากองทัพเรือของเรา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความพยายาม และความตั้งใจในการต่อยอดความรู้ของตนขึ้นไปเรื่อยๆจาก ความสำเร็จ และ ความล้มเหลวในแต่ละย่างก้าว จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเรือดำน้ำ ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นว่าวันหนึ่งกองทัพเรือของเราจะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนขึ้นมาได้เช่นกัน ไม่แพ้ชาติใดในโลก
หากท่าไม่ได้อ่านตอน 1 เชิญอ่านได้ที่: กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 1 ครับ
บทความเกี่ยวข้อง/แหล่งข้อมูล
ถึงแม้กองทัพเรือสหรัฐได้ประสบความล้มเหลวในการสร้าง และนำเรือดำน้ำมาประจำการอย่างมีประสิทธิผลมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่กองทัพเรือสหรัฐก็ไม่ได้ละความพยายาม เพราะได้เล็งเห็นว่าเรือดำน้ำนั้นเป็นยุทโธปกรณ์ซึ่งทรงศักยภาพมาก และเรือดำน้ำใหม่ๆ จากทางฟากฝั่ง ยุโรป ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นภัยคุกคามอันร้ายกาจของทัพเรือสหรัฐฯ
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1900 รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้มีการจัดประกวดแบบเรือดำน้ำ โดยเป็นการแข่งขันกันระหว่างแบบของ ชายชาวไอริช นามว่า ฮอลแลนด์ (Holland) และ นาย เลค (Lake) ซึ่งผลปรากฎว่าแบบของนาย ฮอลแลนด์นั้นได้รับชัยชนะ
USS Holland |
ลักษณะของเรือมีระวางขับน้ำ 64 ตัน และมีลักษณะคล้ายเรือสมัยใหม่หลายประการ เช่น การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในขณะดำน้ำ, เครื่องแก๊สโซลีน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นดีเซล ตามมาตรฐานความปลอดภัยฝรั่งเศส) ขณะอยู่ผิวน้ำ, ระบบท่อตอร์ปิโดที่สามารถบรรจุได้จากในเรือ, หอบังคับการ (Conning Tower) โดยมีความเร็วผิวน้ำ 8 น๊อต และใต้น้ำ 5 น๊อต
หลังจากที่สหรัฐได้นำเรือดำน้ำชั้นฮอลแลนด์เข้าประจำการ ความรู้จากเรือดังกล่าวก็ทำให้สหรัฐออกแบบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ๆได้สำเร็จเป็นจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรือดำน้ำได้ถูกวางให้เป็นกำลังหนุนอันสำคัญในการป้องกันเรือสินค้าและเรืออื่นๆ โดยมุ้งเน้นการต่อตีเรือผิวน้ำมากกว่าเรือดำน้ำด้วยกันเอง
USS Michigan (Ohio Class) |
ในยุคสงครามเย็นการพัฒนาเรือดำน้ำได้ให้ความสำคัญต่อการต่อตีเรือดำน้ำด้วยกันเองมากขึ้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความคงทนในทะเล และความเร็วใต้น้ำ ผลคือเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่ใช้ในการสอดแนม และ ป้องปรามข้าศึก
จากประวัติศาสตร์เรือดำน้ำสหรัฐ เราจะเห็นว่าเขาได้ประสบปัญหามากมาย ไม่น้อยไปกว่ากองทัพเรือของเรา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความพยายาม และความตั้งใจในการต่อยอดความรู้ของตนขึ้นไปเรื่อยๆจาก ความสำเร็จ และ ความล้มเหลวในแต่ละย่างก้าว จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเรือดำน้ำ ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นว่าวันหนึ่งกองทัพเรือของเราจะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนขึ้นมาได้เช่นกัน ไม่แพ้ชาติใดในโลก
หากท่าไม่ได้อ่านตอน 1 เชิญอ่านได้ที่: กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 1 ครับ
บทความเกี่ยวข้อง/แหล่งข้อมูล
- http://en.wikipedia.org/wiki/Submarines_in_the_United_States_Navy
- http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_submarines#United_States
- http://www.navy.mil/navydata/cno/n87/history/log%20sheets.html
- http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=18-05-2006&group=1&gblog=2
Tuesday, October 2, 2012
กว่าจะเกรียงไกร...ประวัติและวิวัฒนาการเรือดำน้ำในสหรัฐ ตอน 1
เรือดำน้ำนั้นถือเป็นหนึ่งในความปรารถนาสูงสุดของ ทร. ไทยที่ต้องการนำยุทโธปกรณ์อันทรงศักยภาพดังกล่าวมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติ แต่หลังจากที่ ทร. ได้ปลดประจำการเรือดำน้ำชุดแรกและชุดเดียวของไทยไป โครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งต่อๆมาก็มักจะเป็นที่สนใจ จับตามอง และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในวงกว้างทั้งในมิติทาง การเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ จึงมีข้อมูลมากมายในสื่อไทยเกี่ยวกับเรือดำน้ำรุ่นต่างๆในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ข้อมูลภาษาไทยเรื่องการวิวัฒนาการของเรือดำน้ำและประวัติในการจัดหาและเข้าประจำการเรือดำน้ำในชาติมหาอำนาจนั้นยังมีอยู่น้อย
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอนำเอาประวัติของการจัดหา จัดซื้อเรือดำน้ำในสหรัฐมารวบรวมเล่าให้ฟังโดยสังเขป เพื่อให้สังคมไทยเห็นถึงความยากลำบากที่แม้แต่ชาติมหาอำนาจต้องเผชิญในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในเรื่องการยุทธใต้ท้องทะเล และเพื่อเป็นกำลังใจและบทเรียนให้กองทัพเรือจัดหาเรือดำน้ำต่อไปเพื่อประโยชน์ของชาติ
อย่างไรก็ดี ข้อมูลภาษาไทยเรื่องการวิวัฒนาการของเรือดำน้ำและประวัติในการจัดหาและเข้าประจำการเรือดำน้ำในชาติมหาอำนาจนั้นยังมีอยู่น้อย
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอนำเอาประวัติของการจัดหา จัดซื้อเรือดำน้ำในสหรัฐมารวบรวมเล่าให้ฟังโดยสังเขป เพื่อให้สังคมไทยเห็นถึงความยากลำบากที่แม้แต่ชาติมหาอำนาจต้องเผชิญในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในเรื่องการยุทธใต้ท้องทะเล และเพื่อเป็นกำลังใจและบทเรียนให้กองทัพเรือจัดหาเรือดำน้ำต่อไปเพื่อประโยชน์ของชาติ
US Navy |
Subscribe to:
Posts (Atom)